10 วิธีรู้รอดปลอดภัยในโลกดิจิทัล (Digital Life)

ปัจจุบันภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์นับเพิ่มขึ้นเพราะอินเตอเน็ตได้รับความนิยมกว่าแต่ก่อน กลาย ช่องทำเงินของเหล่าบรรดาแฮกเกอร์ สร้างความเสียหายให้กับผู้ใช้บริการและองค์กรต่างๆนับวันจะมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น ทางไอทีดิจิทจึงอยากแนะนำ 10 วิธีรู้รอดปลอดภัยในโลกดิจิทัล จะช่วยรักษาความปลอดภัยข้อมูลของเราในการใช้ชีวิตในโลกดิจิทัล

1. อัพเดทซอฟแวร์ที่จำเป็น

การอัพเดทซอฟแวร์ที่จำเป็นนั้นจะช่วยรักษาความปลอดภัยได้มากขึ้น เพราะ ซอฟแวร์ที่อัพเดทแล้ว เพิ่มคุณสมบัติความสามารถใหม่ๆ แก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัยและ แก้ไขข้อบกพร่องของตัวโปรแกรม ช่วยลดความเสี่ยงต่อภัยคุกคามมัลแวร์ตัวใหม่ๆ ประเภทซอฟแวร์ที่ควรอัพเดท คือ ระบบปฏิบัติการ (Windows,Mac) , Web Browsers เInternet Explorer Safari ซอฟต์แวร์ตรวจสอบไวรัส ( AntiVirus – Anti Malware) เป็นต้น

2. ให้ทำการ Patches ซอฟแวร์ ที่เราติดไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์

Patches คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ถูกเขียนออกมาเพื่อซ่อมแซมหรือแก้ไขจุดบกพร่องของซอฟต์แวร์เวอร์ชั่นเดิม หรือก็คือให้ตรวจสอบว่าซอฟแวร์ของเราทำการ patches ที่เวอร์ชั่นล่าสุดแล้วหรือยัง ตัวอย่างเช่น ซอฟแวร์ของ Microsoft office ,ซอฟแวร์ adobe เป็นต้นเพราะบรรดาผู้ผลิตมักจะปล่อย patches ของ ซอฟแวร์ของตัวเองเพื่ออุดช่องโหว่ที่จะสามารถเป็นช่องทางการโจรกรรมข้อมูลได้ อย่างพวก spyware

3. ใช้รหัสผ่านที่เดายาก

ในขั้นตอนนี้ไม่อยากเย็นสำหรับผู้ใช้ทั่วไปนัก ถ้าใช้รหัสผ่านที่เดาง่ายจะเกิดความเสี่ยงต่อบรรดาแฮกเกอร์ได้ รหัสผ่านที่ดีควรใช้ตั้งให้มีความยาวของตัวอักษรไม่สั้นเกินไป มี อักขระพิเศษ (@#$%^&*) มีตัวพิมพ์ใหญ่พิมพ์เล็ก ยกตัวอย่างเช่น 50m5r1@!!

4.อย่าใช้รหัสผ่านเดียวกันในหลายบัญชี

มันอาจจะยุ่งยากที่เราต้องมาจำทั้ง username และ password ในหลายๆบัญชี แต่ว่าถ้าเหล่าบรรดาhackerรู้ username และ password ของบัญชีหนึ่งๆแล้ว จะมีแนวโน้มที่พวกเขาจะเข้าไปละเมืดโจมตีในบัญชีอื่นๆอืกกับกลายเป็นว่า รู้เพียงแค่รหัสเดียวสามารถเข้าถึงได้ทุกๆบัญชีของเรา ง่ายต่อการโจมตีอีก

5. เปิดการใช้การพิสูจน์ตัวตนที่ต้องใช้ข้อมูล 2 ส่วนร่วมกัน

เป็นการยืนยันตัวตนแบบ แบบ 2 ขั้นตอน เราอาจจะเห็นได้จาก gmail วิธีนี้ ช่วยลดโอกาสในการถูกขโมยข้อมูลส่วนตัวในบัญชีอีเมลของเราลงได้ เพราะต่อให้ใส่ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านถูกต้องแล้ว ก็ยังไม่สามารถเข้าถึงบัญชีอีเมลได้ จนกว่าจะใส่รหัส Pin 6 หลักที่ได้รับจาก SMS ผ่านโทรศัพท์มือถือที่ลงทะเบียนไว้กับ Google เสียก่อน

6. ระวัง การใช้เว็บไซต์

ไม่ควรเข้าเว็บไซต์จากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ หรือดาว์โหลดไฟล์ จากเว็บไซต์ที่ไม่น่าไว้ใจ ไม่ควรดาว์โหลดซอฟแวร์เถื่อน เพราะอาจจะติด spyware มากับโปรแกรมทำให้เป็นช่องทางของแฮกเกอร์ขโมยข้อมูลได้

7. เปิดไฟล์แนบที่มากับเมล์อย่างระมัดระวัง

ควรระวังการเปิดไฟล์แนบจากอีเมล์ที่ไม่รู้จัก ระวังการคลิกเว็บไซต์ที่อยู่ในอีเมล์ซึ่ง link ไปที่เว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ เพราะแฮกเกอร์อาจจะใช้วิธีการฟิชชิ่งที่ชักชวนให้เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวเราหรือข้อมูลทางการเงินผ่านทางข้อความอีเมล

9. ระวังการเสียบ flash drive หรือ External Harddisk กับเครื่องคอมพิวเตอร์

flash drive หรือ External Harddisk เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่พกพาสะดวกมีความจุสูงจึงนิยมใช้งานเก็บข้อมูลภายนอก แต่ทว่าถ้าใช้กับคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่อง จะมีความเสี่ยงติดไวรัสสูงมากเพราะถ้าอุปกร์ตัวใหนที่เคยไปเสียบคอมที่มีไวรัสและเอาไปเสียบกับคอมอีกเครื่อง เครื่องนั้นก็ติดไวรัสไปด้วย จากนั้นก็จะแพร่ขยายเป็นวงกว้าง

10.ระวังการติดตั้ง แอฟในมือถือ

พวกแฮกเกอร์ อาจจะสร้างแอฟหลอกๆให้เราโหลดไปติดตั้งและขอสิทธิเข้าถึงข้อมูลบนสมาร์ทโฟน ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นส่วนตัว เกินความจำเป็น เช่นขอสิทธิอ่าน รายชื่อเบอร์โทรศัพท์ ( Contact ), พิกัด ( GPS ) , การเข้าถึงข้อมูลไฟล์ต่างๆบนตัวมือถือ Android ซึ่งมีความเสี่ยงที่ข้อมูลมือถือ และความเป็นส่วนตัว อาจหลุด หรือถูกขโมยตกในมือของ Hacker ได้

ที่มา: antivirus.about.com