การช้อปปิ้งออนไลน์เป็นเรื่องสะดวกและรวดเร็ว แต่ก็มาพร้อมความเสี่ยง โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลหรือโปรโมชั่นพิเศษที่ผู้คนแห่ซื้อสินค้าออนไลน์กันมากขึ้น อาชญากรไซเบอร์จึงมักใช้ช่วงนี้ในการหลอกลวงผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ปลอม ข้อเสนอเกินจริง หรือกลลวงให้กรอกข้อมูลบัตรเครดิต วันนี้เรามี 10 เคล็ดลับง่ายๆ ที่ช่วยให้คุณช้อปออนไลน์ได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น
1. ซื้อจากเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้เท่านั้น
หลีกเลี่ยงการคลิกโฆษณาหรือผลการค้นหาที่ดูไม่น่าเชื่อถือ ควรช้อปผ่านเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียง เช่น Amazon, Lazada, Shopee หรือเว็บร้านค้าที่คุณรู้จัก ตรวจสอบให้แน่ใจว่า URL ไม่มีการสะกดผิด และโดเมนลงท้ายด้วย .com หรือ .co.th แทนที่จะเป็น .net หรือ .io ซึ่งมักเป็นกลลวง
A title
Image Box text
2. มองหาไอคอนรูปแม่กุญแจ
ก่อนทำการชำระเงิน ให้ดูที่แถบ URL ว่ามีไอคอนรูปแม่กุญแจหรือไม่ รวมถึง URL ต้องเริ่มต้นด้วย “https://” ตัว “s” หมายถึงเว็บไซต์มีการเข้ารหัสข้อมูล (SSL) ซึ่งจะช่วยป้องกันข้อมูลของคุณไม่ให้รั่วไหล
A title
Image Box text
3.ตรวจสอบชื่อเสียงของผู้ขาย
หากซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ที่ไม่คุ้นเคย ให้ค้นหาข้อมูลผู้ขายก่อน เช่น ดูรีวิวใน Google หรือแพลตฟอร์มอย่าง Pantip, Facebook Page, หรือรีวิวใน Shopee/Lazada หากมีแต่รีวิวเชิงบวกแบบซ้ำๆ ให้ระวังว่าอาจเป็นรีวิวปลอม
พยายามเลือกผู้ขายที่ให้ข้อมูลติดต่อชัดเจน เช่น ที่อยู่หรือเบอร์โทรศัพท์ และอย่าลังเลที่จะโทรถามเงื่อนไขการคืนสินค้า
A title
Image Box text
4. ให้ข้อมูลเท่าที่จำเป็น
ไม่มีความจำเป็นที่ร้านค้าออนไลน์จะต้องรู้วันเกิด หมายเลขประกันสังคม หรือข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ นอกจากชื่อ ที่อยู่ และวิธีชำระเงิน หากเว็บไซต์ร้องขอข้อมูลเกินจำเป็น คุณสามารถกรอกข้อมูลปลอมเพื่อความปลอดภัย หรือเลือกไม่ใช้บริการนั้นเลย
A title
Image Box text
5. หลีกเลี่ยงการใช้บัตรเดบิต
หากบัตรเดบิตของคุณถูกขโมย ขโมยอาจเข้าถึงบัญชีเงินฝากของคุณได้โดยตรง ดังนั้นควรใช้บัตรเครดิตหรือบริการชำระเงินดิจิทัล เช่น Apple Pay หรือ Google Pay แทน บัตรเครดิตยังมีความคุ้มครองกรณีถูกหลอกลวงมากกว่าบัตรเดบิต และคุณสามารถเรียกร้องเงินคืนได้ง่ายกว่า
A title
Image Box text
6. ใช้โทรศัพท์มือถือในการชำระเงินในร้านค้า
การใช้โทรศัพท์มือถือชำระเงินผ่านแอปต่างๆ มีความปลอดภัยสูง เพราะต้องมีการยืนยันตัวตนด้วยรหัสหรือสแกนลายนิ้วมือ ลดโอกาสถูกขโมยข้อมูลจากบัตรได้อย่างมาก
A title
Image Box text
7. ระวังการซื้อบัตรของขวัญ
หากต้องการซื้อบัตรของขวัญ ควรซื้อผ่านเว็บไซต์ที่เป็นทางการของร้านค้านั้นๆ หรือซื้อในร้านค้าจริง หลีกเลี่ยงการซื้อจากเว็บไซต์ประมูลหรือแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนที่ไม่น่าเชื่อถือ เพราะคุณอาจได้รับบัตรที่ไม่มีเงินเหลืออยู่แล้ว
A title
Image Box text
8. หลีกเลี่ยงการใช้ Wi-Fi สาธารณะ
อย่าทำธุรกรรมหรือช้อปออนไลน์ผ่าน Wi-Fi สาธารณะที่ไม่มีการป้องกัน ควรใช้ VPN หากคุณจำเป็นต้องใช้ Wi-Fi สาธารณะ เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวถูกดักจับจากผู้ไม่หวังดี
A title
Image Box text
9. ใช้เครื่องมือรักษาความปลอดภัย
ติดตั้งแอปหรือโปรแกรมป้องกันไวรัสไว้ในอุปกรณ์ของคุณ อัปเดตซอฟต์แวร์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ และเปิดใช้ระบบยืนยันตัวตนแบบ 2 ชั้น (Two-Factor Authentication) สำหรับบัญชีสำคัญ เช่น อีเมล หรือบัญชีธนาคาร เพื่อป้องกันการเข้าถึงจากบุคคลอื่น
A title
Image Box text
10. หากถูกหลอก อย่านิ่งเฉย
ถ้าคุณรู้ตัวว่าตกเป็นเหยื่อการหลอกลวงออนไลน์ อย่าอาย ให้รวบรวมหลักฐานและแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที เช่น แจ้งตำรวจ แจ้งธนาคาร หรือแจ้งศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี รวมถึงเปลี่ยนรหัสผ่านบัญชีทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันความเสียหายเพิ่มเติม
A title
Image Box text
บทสรุป
การช้อปออนไลน์ไม่จำเป็นต้องกังวลเกินเหตุ เพียงแค่เราให้ ระวังเว็บไซต์ปลอม ข้อเสนอเกินจริง และอย่าเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวเกินความจำเป็น ใช้เคล็ดลับในบทความนี้เป็นแนวทาง การซื้อของได้อย่างปลอดภัย ไร้กังวลแล้วค่ะ
ที่มา : https://www.pcmag.com